วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ทำความรู้จักกับโลซก ในสามก๊ก

โลซก 
(ผู้ซ่อนปัญญา ในความจริงใจ)





     ลักษณะนิสัย

          เป็นคนมีฐานะร่ำรวย การศึกษาดี จิตใจโอบอ้อมอารีย์ ไม่โลภ ไม่ริษยา พูดจาตรงไปตรงมา และชอบช่วยเหลือเพื่อนเป็นคนมีฐานะร่ำรวย การศึกษาดี มองการไกล วิสัยทัศน์ยอดเยี่ยม จิตใจโอบอ้อมอารีย์ ไม่โลภ ไม่ริษยา พูดจาตรงไปตรงมา และชอบช่วยเหลือเพื่อน


     ความสำคัญ

          เป็นหนึ่งใน ง่อก๊ก ครั้งหนึ่งจิวยี่เคยไปขอยืมข้าวสารและเงินทองของโลซกเพื่อเอามาใช้สนับสนุนการทำงานของตน ตอนนั้นโลซกมีข้าวอยู่ ๒ ฉาง โลซกก็ใจกว้าง ยกข้าวให้จิวยี่ ๑ ฉางแบบไม่อิดออดเลย จิวยี่จึงนับถือน้ำใจของโลซก ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมาก่อนที่จะพาโลซก เข้ามาทำงานในบริษัทของซุนกวนด้วยกัน
               ครั้งแรกที่ซุนกวนพบโลซก ก็เกิดความประทับใจทันที เพราะโลซก ไม่มีมาดคนรวย ซ้ำยังทำตัวติดดินและพร้อมจะทำงานเพื่อบ้านเมือง ในครั้งแรกที่พบซุนกวนนี้ โลซกเสนอให้ซุนกวนแบ่งแผ่นดินเป็นสามส่วนเพื่อถ่วงดุลอำนาจกัน ด้วย "ยุทธศาสตร์ยี่ภู่" ก่อนหน้าที่ขงเบ้งจะเสนอ "ยุทธศาสตร์หลงจง" ซึ่งมีเป้าหมายเหมือนกันให้เล่าปี่เสียด้วยซ้ำ
               ในศึกเซ็กเพ็กอันลือลั่น ฝั่งง่อก๊กของซุนกวนได้รับชัยชนะอย่างงดงาม โดยการนำทัพของจิวยี่ และ การสนับสนุนจากโลซก โดยในระหว่างการศึก โลซก เป็นผู้ประสานงานหลักให้ทั้งสองบริษัท
คือเล่าปี่และซุนกวนร่วมมือกันจนสามารถเอาชนะบริษัทของโจโฉได้
      หลังจบศึก…
ซุนกวน ลงจากม้า มารอต้อนรับโลซก แล้วถามว่า…
"ข้าทำแบบนี้ ควรค่ากับการขอบคุณท่านไหม.?"
โลซก : ท่านต้องได้เป็นฮ่องเต้ก่อน แล้วค่อยเอารถเทียมม้ามารับข้า มันถึงจะคู่ควร"
               ทั้งซุนกวนและโลซก จึงจับมือกันแน่น หัวเราะชอบใจใหญ่ถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของโลซก หลังจากนั้นถึงแม้ว่าทั้งสองบริษัทพันธมิตร เล่า-ซุน จะมีเรื่องขัดแย้งแบ่งผลประโยชน์กันไม่ลงตัวบ้าง ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่ ก็ได้ "ปัญญา" ของโลซก ที่คอยผสานให้ความขัดแย้งในทุกครั้งนั้นผ่านพ้นมาได้ และมันก็เป็นอย่างนั้นตลอดเวลาที่โลซกยังมีชีวิตอยู่ ทั้งหมดก็เพื่อรักษานโยบายที่ตัวเองวางไว้ให้ซุนกวนตั้งแต่เริ่มต้น…และแผ่นดินก็แบ่งออกเป็นสามส่วนตามแนวคิดของเขาจริงๆ
      สุดท้าย…
โลซกจากไปอย่างสงบในวัย ๔๘ ปี จบตำนานรัฐบุรุษลำดับที่ ๒ แห่งง่อก๊กต่อจากจิวยี่ ท่ามกลางความอาลัยของคนทั้งปวง
     











จัดทำโดย                                                
๑.นางสาวปาจรีย์  บำรุงศรี     เลขที่ ๑๔  
๒.นางสาวอรกัญญา  วังทอง  เลขที่ ๒๐ 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๒                           
นำเสนอ                                                   
คุณครูสมควร  ปลื้มสูตร                          
รายวิชา ภาษาไทย  รหัสวิชา ท๓๓๑๐๒  
โรงเรียน ดอนเมืองทหารอากาศบำรุง