คณะแพทย์ศาสตร์ ที่เขาลือกันนักหนา ว่าสอบยาก เรียนเหนื่อย จบมาก็ทำงานหนัก เวลาไปเที่ยวก็ไม่ค่อยจะมี แต่!!!! หารู้ไม่ว่า อาชีพแพทย์ เป็นหนึ่งในอาชีพที่จบมาแล้วมีงานแน่นอน(ถ้าสอบใบประกอบวิชาชีพได้) เพราะเป็นอาชีพที่ขาดแคลนในประเทศไทย
แนะนำวิธีอ่านหนังสือเพื่อไปสอบ
1.อ่านทบทวนความรู้พื้นฐานในแต่ละวิชา (เน้นม.4-ม.6) หลังจากนั้นให้เริ่มเจาะลึกทีละเรื่อง
2.จดคำศัพท์หรือนิยามลงในสมุดโน๊ต
3.ฝึกทำโจทย์ในวิชาต่างๆ
4.พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียดมากจนเกินไป
คุณลักษณะนิสัยที่ควรมี
1. ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
หมอเป็นอาชีพที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ ไม่ว่าจะต่อผู้ป่วย ต่อคนในครอบครัว ต่อสัตว์เลี้ยง และต่อบุคคลอันเป็นที่รัก
หมอเป็นอาชีพที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ ไม่ว่าจะต่อผู้ป่วย ต่อคนในครอบครัว ต่อสัตว์เลี้ยง และต่อบุคคลอันเป็นที่รัก
2. แรงบันดาลใจ (Motivation)
เด็กต้องให้เหตุผลของการอยากเรียนหมอ แสดงออกถึงความสนใจที่มาจากตนเอง รวมถึงเป้าหมายและแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนสาขานี้
เด็กต้องให้เหตุผลของการอยากเรียนหมอ แสดงออกถึงความสนใจที่มาจากตนเอง รวมถึงเป้าหมายและแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนสาขานี้
3. การสื่อสาร (Communication)
ความสามารถทางการสื่อสาร การใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม การอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง
ความสามารถทางการสื่อสาร การใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม การอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง
4. ความซื่อสัตย์ จริงใจ (Honesty and
Integrity)
การมีศีลธรรมและความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอีกส่วนที่สำคัญในการทำงานในทุกอาชีพ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นหมอทุกคนในการตรวจคนไข้และวินิจฉัยอาการ แจ้งผล และแก้ปัญหาของโรคให้ดีที่สุด
การมีศีลธรรมและความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอีกส่วนที่สำคัญในการทำงานในทุกอาชีพ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นหมอทุกคนในการตรวจคนไข้และวินิจฉัยอาการ แจ้งผล และแก้ปัญหาของโรคให้ดีที่สุด
5. การรู้จักตนเอง (Personal Insight)
เข้าใจตนเองและรับมือกับความเครียด รู้จักจัดสรรเวลา ตั้งเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ ยืดหยุ่นในบางสถานการณ์ และควบคุมอารมณ์จากความกดดันและปัญหาต่างๆ ได้ สิ่งเหล่านี้คือการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น
เข้าใจตนเองและรับมือกับความเครียด รู้จักจัดสรรเวลา ตั้งเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ ยืดหยุ่นในบางสถานการณ์ และควบคุมอารมณ์จากความกดดันและปัญหาต่างๆ ได้ สิ่งเหล่านี้คือการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น
6. การทำงานร่วมกัน (Team Work)
การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม และการจ่ายงานให้เพื่อนร่วมทีมก็สำคัญพอๆ กัน อย่าลืมว่านอกจากวินิจฉัยโรคแล้ว การลงมือปฏิบัติงาน เช่น การผ่าตัด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับคนในแผนกอื่นๆ ด้วย
การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม และการจ่ายงานให้เพื่อนร่วมทีมก็สำคัญพอๆ กัน อย่าลืมว่านอกจากวินิจฉัยโรคแล้ว การลงมือปฏิบัติงาน เช่น การผ่าตัด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับคนในแผนกอื่นๆ ด้วย
7. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving)
การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมถึงความสามรถในการตัดสินใจ การวินิจฉัยโรคต่างๆ เกิดจากการวิเคราะห์ตามอาการและข้อมูลประกอบกัน ทักษะในด้านนี้จึงสำคัญมาก
การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมถึงความสามรถในการตัดสินใจ การวินิจฉัยโรคต่างๆ เกิดจากการวิเคราะห์ตามอาการและข้อมูลประกอบกัน ทักษะในด้านนี้จึงสำคัญมาก
8. การยึดหลักจริยธรรม (Ethical Awareness)
จริยธรรมเกี่ยวข้องกับการทำงานของทุกคน ในส่วนของการเป็นหมอ จริยธรรมคือ การดำเนินงานรักษาโรค การตัดสินใจของหมอจึงสำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตและการประพฤติปฏิบัติที่ควรเป็นไปตามความเหมาะสมของวิชาชีพ
จริยธรรมเกี่ยวข้องกับการทำงานของทุกคน ในส่วนของการเป็นหมอ จริยธรรมคือ การดำเนินงานรักษาโรค การตัดสินใจของหมอจึงสำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตและการประพฤติปฏิบัติที่ควรเป็นไปตามความเหมาะสมของวิชาชีพ
9. ความกระหายรู้ (Intellectual Curiosity)
สนใจขวนขวาย ไม่หยุดที่จะหาความรู้ ติดตามข่าวสารวงการแพทย์และงานวิจัยใหม่ๆ และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดอยู่กับที่ ถึงแม้เด็กจะผ่านการสัมภาษณ์และได้รับเลือกให้เรียนแล้ว ทางมหาลัยในต่างประเทศยังมีชุดคำถามและการวัดระดับเพิ่มเติม เพื่อทดสอบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับการเป็นหมอหรือไม่ และในระหว่างเรียนจะมีการพัฒนาเรื่องทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
สนใจขวนขวาย ไม่หยุดที่จะหาความรู้ ติดตามข่าวสารวงการแพทย์และงานวิจัยใหม่ๆ และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดอยู่กับที่ ถึงแม้เด็กจะผ่านการสัมภาษณ์และได้รับเลือกให้เรียนแล้ว ทางมหาลัยในต่างประเทศยังมีชุดคำถามและการวัดระดับเพิ่มเติม เพื่อทดสอบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับการเป็นหมอหรือไม่ และในระหว่างเรียนจะมีการพัฒนาเรื่องทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
ฐานะทางครอบครัวไม่ดีควรทำอย่างไร
ผ่าน ๆ มา เด็กที่สอบติดในระบบของคณะแพทยศาสตร์นั้น มีทุกประเภทนะ มีทั้งรวยเยอะ ๆ และจนมาก ๆ แต่ถ้าสามารถสอบเข้ามาได้แล้ว
พี่ว่าแทบทุกมหาวิทยาลัยเขาจะมีทุนให้นิสิต นักศึกษาได้เรียนแน่นอน บางมหาวิทยาลัย
หาคนค้ำประกันให้ด้วยนะ หลัก ๆ ของสายนี้คือต้องสอบเข้าให้ได้ก่อน
เพราะมันโหดไม่ธรรมดา ต้องฝ่าฟันมากมาย เอาเป็นว่าจะบอกคร่าว ๆ ละกันนะ
ในการสอบนั้นมีหลายโครงการ ถ้าเป็นเด็กต่างจังหวัด ลองไปดูส่วนของโค้วต้าก่อน หลังจากนั้นค่อยไล่ดูของสอบตรงที่อื่น ๆ
และสุดท้ายคือของ กสพท รายวิชาที่สอบก็สำคัญทั้งหมด อย่าทิ้งวิชาใดไป
สำหรับที่บอกว่าอ่อนภาษาอังกฤษนั้น
มันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเรียนทุกระดับซะด้วย โดยเฉพาะสายแพทย์ ต้องลองปรับปรุงตัวเองโดบใช้วิธีคิดทุกอย่างรอบ ๆ ตัวเป็นภาษาอังกฤษดูก่อน
ว่าอะไรเรียกว่าอะไรในภาษาอังกฤษ พอเริ่มได้ศัพย์เยอะแล้วลองเรียงเป็นประโยคดูเอาง่าย
ๆ ก่อนแล้วค่อยเพิ่มความยากเข้าไป
ขณะที่ทำเรื่องพวกนี้ถ้ามีไครให้ถามได้ก็หมั่นเช็คตัวเองดูว่าเราก้าวหน้าไปมากขนาดไหน
เนื่องจากอยู่ ม.5 แล้วมีเวลาไม่เยอะมาก ต้องเร่งทำ หลังจากนั้นก็หาแบบฝึกหัดมาลองทำดู
ทำเยอะ ๆ จะได้ประสบการณ์เยอะไปด้วย ช่วยได้ในการสอบจริง
หาข่าวภาษาอังกฤษมาอ่านให้เยอะ ๆ ตามเว็บเยอะมาก อ่านนี้จะได้ทุกอย่าง
และอาจมาเจอในห้องสอบด้วย อย่างไรก็ตาม ในสายที่อยากสอบนี้มันไม่ง่ายเลย
ถ้ามีความตั้งใจจริง ๆ อย่างที่บอก ก็ขอให้อดทน มานะ แสวงหาข้อมูลทั้งวิชาการและช่องทางที่จะสอบ
ต่อไปอย่างเข้มข้น
ปี 1 ปรับพื้นฐานกันก่อน
ในช่วงปี 1 ใสๆ แบบนี้ (หรอ?) ก็มาปรับพื้นฐานกันก่อน ช่วงเวลา 3 ปีที่เรียน ม. ปลาย ก็ขมวดเหลือปี 1 เทอมแรกนี่แหละ แล้วก็จะเรียนในเนื้อหาที่แอดวานซ์ขึ้น วิชาก็ยังชื่อธรรมดาๆ อยู่ เช่น ฟิสิกส์ทั่วไป (บางสถาบัน), เคมีทั่วไป, ชีววิทยา, แคลคูลัส, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ เป็นต้น ดูเบาๆ เบาสุดก็ปี 1 นี่แหละ
ปี 2 สวัสดีพรีคลีนิก
พอขึ้นปี 2 ปุ๊บก็จะเรียนรู้วิชาต่างๆ ที่จะใช้ในการรักษา ปี 2 นี่แหละที่น้องๆ จะได้พบกับอาจารย์ใหญ่ พ้อมกล่าวคำปฏิญาณ แรกๆ ตอนเรียนก็จะกลัวๆ หน่อย แต่พอเรียนไปเรียนมาจะสัมผัสได้ถึงความผูกพัน บางคนแอบขอกับอาจารย์ใหญ่ให้ช่วยสอบผ่านด้วยแหละ :) ส่วนรายวิชาจะเป็นเรื่องของระบบร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด และมีวิชาอื่นอีก ทั้งกายวิภาค สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ เป็นต้น
ปี 3 ร่างนี้มีอะไรที่ทำให้ป่วยบ้าง
ตอนปี 2 เรารู้จักร่างกายกันไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง พอขึ้นปี 3 จะได้เรียนรู้กับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายไม่ปกติ เช่น หลักภูมิคุ้มกันวิทยา, ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ จนไปถึงยาต่างๆ ในเภสัชวิทยา แต่เป็นยาแบบพื้นฐาน ถ้าลงลึกกว่านี้ต้องไปปรึกษาเด็กเภสัชฯแล้วล่ะค่ะ
ปี 4 สถานีต่อไป ... ชั้นคลีนิก
บอกลาการปิดเทอมไปได้เลย ไม่มีแล้วค่ะ ปี 4 เป็นปีแรกในการก้าวสู่ชั้นคลีนิค เป็นปีที่เริ่มไปเรียนรู้และทดลองดูแลคนไข้จริงๆ ที่โรงพยาบาลแล้ว ซึ่งก็จะวนไปตามวอร์ดต่างๆ จนครบ เป็นปีที่ต้องตื่นเช้ามากกกก และนอนดึกมาก ถ้าเพื่อนๆ ที่เรียนแพทย์หายไปจากโซเชียลไม่ต้องไปน้อยใจเลยนะคะ คือไม่มีเวลาจริงๆ เพราะต้องขึ้นวอร์ดด้วย เรียนเลคเชอร์ด้วย แต่สักพักจะปรับตัวได้เอง (มั้ง)
ปี 5 หนักกว่านี้พี่ก็สู้
เป็นช่วงชั้นปีที่บอกเลยว่า แอบโหด (แต่ยังไม่โหดสุด) เป็นชั้นปีที่จะวนเวียนอยู่แต่บนวอร์ดนี่แหละ จากตอนปี 4 คิดว่ามาถึงวอร์ด 7 โมงคือเช้าแล้ว ปี 5 อาจจะมี ตี 4 จนโต้รุ่งอีกวันได้เลยจ้า ซึ่งชั้นปี 5 จะไม่ได้แค่มองๆ แล้วจนตามหมอแล้ว แต่จะมีให้วินิจฉัยร่วมด้วย เย็บแผลด้วย ช่วยทำคลอดด้วย เลคเชอร์ก็ต้องเรียน และต้องเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพขั้นที่ 2 ด้วย เอาสิ!!
ปี 6 ช่วงชีวิต Extern
ปีสุดท้ายแล้ววววว เดินทางมาไกลเนาะ ผ่านมา 5 ปีแล้ว ในชั้นปี 6 ก็สามารถเริ่มรักษาคนไข้ได้แล้วค่ะ สิ่งที่ต่างออกไปคือ เราจะใช้เวลาอยู่ในแต่ละหอนานขึ้น และก็มีออกไปลองเป็นหมอในโรงพยาบาลต่างจังหวัดด้วยค่ะ ซึ่งรอบนี้ไม่มีใครช่วยแล้ว ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาล้วนๆ พอจบ 6 ปีก็สอบใบประกอบวิชาชีพขั้นสุดท้าย และเตรียมตัวใช้ทุนต่อไป
ในช่วงปี 1 ใสๆ แบบนี้ (หรอ?) ก็มาปรับพื้นฐานกันก่อน ช่วงเวลา 3 ปีที่เรียน ม. ปลาย ก็ขมวดเหลือปี 1 เทอมแรกนี่แหละ แล้วก็จะเรียนในเนื้อหาที่แอดวานซ์ขึ้น วิชาก็ยังชื่อธรรมดาๆ อยู่ เช่น ฟิสิกส์ทั่วไป (บางสถาบัน), เคมีทั่วไป, ชีววิทยา, แคลคูลัส, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ เป็นต้น ดูเบาๆ เบาสุดก็ปี 1 นี่แหละ
ปี 2 สวัสดีพรีคลีนิก
พอขึ้นปี 2 ปุ๊บก็จะเรียนรู้วิชาต่างๆ ที่จะใช้ในการรักษา ปี 2 นี่แหละที่น้องๆ จะได้พบกับอาจารย์ใหญ่ พ้อมกล่าวคำปฏิญาณ แรกๆ ตอนเรียนก็จะกลัวๆ หน่อย แต่พอเรียนไปเรียนมาจะสัมผัสได้ถึงความผูกพัน บางคนแอบขอกับอาจารย์ใหญ่ให้ช่วยสอบผ่านด้วยแหละ :) ส่วนรายวิชาจะเป็นเรื่องของระบบร่างกาย เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด และมีวิชาอื่นอีก ทั้งกายวิภาค สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ เป็นต้น
ปี 3 ร่างนี้มีอะไรที่ทำให้ป่วยบ้าง
ตอนปี 2 เรารู้จักร่างกายกันไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง พอขึ้นปี 3 จะได้เรียนรู้กับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายไม่ปกติ เช่น หลักภูมิคุ้มกันวิทยา, ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ จนไปถึงยาต่างๆ ในเภสัชวิทยา แต่เป็นยาแบบพื้นฐาน ถ้าลงลึกกว่านี้ต้องไปปรึกษาเด็กเภสัชฯแล้วล่ะค่ะ
ปี 4 สถานีต่อไป ... ชั้นคลีนิก
บอกลาการปิดเทอมไปได้เลย ไม่มีแล้วค่ะ ปี 4 เป็นปีแรกในการก้าวสู่ชั้นคลีนิค เป็นปีที่เริ่มไปเรียนรู้และทดลองดูแลคนไข้จริงๆ ที่โรงพยาบาลแล้ว ซึ่งก็จะวนไปตามวอร์ดต่างๆ จนครบ เป็นปีที่ต้องตื่นเช้ามากกกก และนอนดึกมาก ถ้าเพื่อนๆ ที่เรียนแพทย์หายไปจากโซเชียลไม่ต้องไปน้อยใจเลยนะคะ คือไม่มีเวลาจริงๆ เพราะต้องขึ้นวอร์ดด้วย เรียนเลคเชอร์ด้วย แต่สักพักจะปรับตัวได้เอง (มั้ง)
ปี 5 หนักกว่านี้พี่ก็สู้
เป็นช่วงชั้นปีที่บอกเลยว่า แอบโหด (แต่ยังไม่โหดสุด) เป็นชั้นปีที่จะวนเวียนอยู่แต่บนวอร์ดนี่แหละ จากตอนปี 4 คิดว่ามาถึงวอร์ด 7 โมงคือเช้าแล้ว ปี 5 อาจจะมี ตี 4 จนโต้รุ่งอีกวันได้เลยจ้า ซึ่งชั้นปี 5 จะไม่ได้แค่มองๆ แล้วจนตามหมอแล้ว แต่จะมีให้วินิจฉัยร่วมด้วย เย็บแผลด้วย ช่วยทำคลอดด้วย เลคเชอร์ก็ต้องเรียน และต้องเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพขั้นที่ 2 ด้วย เอาสิ!!
ปี 6 ช่วงชีวิต Extern
ปีสุดท้ายแล้ววววว เดินทางมาไกลเนาะ ผ่านมา 5 ปีแล้ว ในชั้นปี 6 ก็สามารถเริ่มรักษาคนไข้ได้แล้วค่ะ สิ่งที่ต่างออกไปคือ เราจะใช้เวลาอยู่ในแต่ละหอนานขึ้น และก็มีออกไปลองเป็นหมอในโรงพยาบาลต่างจังหวัดด้วยค่ะ ซึ่งรอบนี้ไม่มีใครช่วยแล้ว ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาล้วนๆ พอจบ 6 ปีก็สอบใบประกอบวิชาชีพขั้นสุดท้าย และเตรียมตัวใช้ทุนต่อไป
My Profile
ชื่อ น.ส.ปาจรีย์ บำรุงศรี ชื่อเล่น มะนาว
วันเกิด อังคารที่ 4 กันยายน 2544
จากโรงเรียน ดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
งานอดิเรก ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือ
ความสามารถพิเศษ ร้องเพลง
ถนัดในวิชา ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยที่อยากเข้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เพราะ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านคณะแพทย์ศาสตร์และใกล้บ้าน
คติประจำใจ คนมีความพยายาม ย่อมสำเร็จดังใจหวังเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น